วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการทำStop-Motion

ถ่ายภาพ stop motion และ motion
ภาพแบบ motion จะเป็นลักษณะภาพที่สื่อถึงการเคลื่อนไหว
เช่น  รถกำลังวิ่ง คนกำลังวิ่ง คนกำลังเต้น และน้ำตก
ส่วนภาพ Stop motion ก็คือภาพที่หยุดเคลื่อนไหวของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่

เทคนิคแบบง่าย
1. Stop motion  ใช้สปีดในการถ่ายที่สูง เช่น 1/100s 1/200s ขึ้นไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยนะครับว่าเร็วแค่ไหน
เช่น  คนกำลังเดินใช้สัก 1/60  หรือ คนกำลังวิ่งก็ใช้  1/200
แต่ถ้าจะถ่ายกระสุนปืนคงต้องใช้ 1/8000 ขึ้นไป
2. motion ถ่ายโดยใช้สปีดต่ำ เพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหว
ซึ่งภาพที่ได้อาจจะดูเบลอๆ ไปบ้าง แต่ก็จะเห็นว่าดูมีการเคลื่อนไหวของวัตถุ จึงทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้น

ชุดนี้ถ่ายด้วย
Canon EOS 30D
Lens  EF-S17-55mm f/2.8 IS USM
Flash speedlite 580 ex



stop motion #1

stop motion #2
ค่าที่ใช้ถ่าย ภาพแบบ stop motionShutter Speed  1/200Sec.
Aperture Value  F3.5
ISO Speed        800
ใช้ F 3.5 เพราะยิ่งเปิดรูรับแสงกว้างยิ่งได้สปีดมากขึ้น 
ที่ไม่เปิดถึง 2.8 เพราะ เวลาที่คนเต้นจะมีการเคลื่อนไหว(เด้งหน้า-เด้งหลัง) ตลอดเวลา
ทำให้มีโอกาสหลุดโฟกัสได้ง่ายเนื่องจากระยะชัดลึก(DOF)จะน้อยลงเมื่อเปิด F กว้าง
โฟกัสหลุดภาพก็จะไม่มีความคมชัด
ISO 100 > 200 > 400 > 800  ทำให้ภาพเราสว่างเพิ่มขึ้น 4 สตอป
หน่วยความไวแสง ISO เป็นค่ามาตราฐานเดียวกันฟิลม์ครับ 
ใครรู้หลักการกล้องฟิลม์ก็ใช้พื้นฐานเดียวกันได้เลย
ทำไมไม่ใช้ ISO ถึง 1600 และ 3200
ยิ่งใช้ ISO สูงๆ สัญญาณรบกวน(noise) ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย


motion #1


motion #2


ภาพ motion สองภาพนี้นอกจากจะใช้สปีดต่ำแล้วยังเปิดแฟลชในโหมด Second-curtain sync หรือ rear curtian sync  เพื่อให้เห็นภาพนิ่งในซ้อนกับภาพที่เบลอ ซึ่งเป็น effect พิเศษของแฟลช จะมีในกล้องดิจิตอลคอมแพคบางรุ่น และ DSLR ทุกรุ่นครับ
ค่าที่ใช้ถ่าย ภาพแบบ motion
Shutter Speed  1.8 Sec.
Aperture Value  F8
ISO Speed        800
แฟลชโหมด  Second-curtain sync หรือ rear curtian sync
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/125596

                ที่มา;https://www.gotoknow.org/posts/125596

ตัวอย่างคลิปStop-Motion


ขอบคุณคลิปจาก;https://youtu.be/7flMDbeZzXs

วิธีทำstop-Motion

ขอบคุณคลิปจาก;https://youtu.be/LyQIAKw1Yhw

แนวทางการจัดการกับปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น

      แนวทางในการจัดการกับปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น อาจจะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยสอดส่องดูแลอย่างสม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างไรการจัดการกับปัญหานี้ก็ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียว สิ่งที่จะช่วยจัดการกับปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นได้ง่ายที่สุด คือ
สถาบันครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครอง นับว่าเป็นบุคคลใกล้ตัวและมีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะช่วยในการแก้ปัญหา โดยควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและวัยรุ่น ควรสอนให้เด็กเขียนหนังสือให้ถูกต้อง และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านก็จะยิ่งช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก
     สถาบันการศึกษา ทุกสถาบันมีการเรียนการสอนภาษาไทยอยู่แล้ว ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา โดยสถาบันในทุกระดับนั้น ควรให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาไทยมาก
นอกจากนี้อาจต้องต้องพิจารณาหลักสูตรโดยหันมาใช้การเรียนการสอนเดิมๆ ดูบ้าง ซึ่งจะมีวิชาเขียนไทย อ่านไทย ย่อความ หรือท่องอาขยาน เพื่อให้เด็กใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องมากขึ้น ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็เคยมีรับสั่งว่า การที่ให้เด็กได้ท่องอาขยาน เป็นการฝึกความจำของเด็ก ด้วยการให้ได้ท่องภาษาดีๆ การใช้ภาษาของเด็กก็จะได้รับการพัฒนาไปด้วย อย่างไรก็ตาม การที่จะฝึกฝนและสอนเด็กให้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องนั้น ครูก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้หามาตรการในการสร้างมาตรฐานการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องของครูด้วยเช่นกัน เช่น แนวคิดในการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานของครูโดยราชบัณฑิตยสถาน การจัดอบรมครูภาษาไทยทั่วประเทศทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยสมาคมครูภาษาไทยฯ เป็นต้น
     สื่อ เนื่องจากเด็กและเยาวชนอยู่กับสื่อแทบตลอดเวลา มากกว่าอยู่กับพ่อแม่ และสถาบันการศึกษาด้วยซ้ำ สื่อจึงควรมีจิตสำนึกและตระหนักว่าตนเองมีความสำคัญต่อสังคม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ ของวัยรุ่น รวมทั้งการใช้ภาษา แม้ว่าสื่อมีความจำเป็นต้องใช้คำแปลกใหม่บ้างเพื่อเป็นสีสันของข่าว และดึงดูดผู้ชมผู้ฟัง แต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป ดังนั้น เมื่อจะสื่อสารสิ่งใดจึงควรมีวิจารณญาณ และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมต่อไป
การที่จะฝึกฝนหรือสอนให้เด็กพูด อ่าน และเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องนั้น คงจะง่ายขึ้นหากเราสามารถปลูกฝังให้พวกเขารู้สึกหวงแหนภาษาไทย ซึ่งเป็นมรดกของชาติ เพราะเรามีทั้งภาษาพูด และภาษาเขียนที่เป็นของเราเอง เพื่อที่วันข้างหน้าเขาจะเติบโตขึ้นเป็นเยาวชนไทยที่ใช้ภาษาไทยถูกต้อง มีบุคลิกภาพดี และสามารถอวดเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ
สำหรับครู อาจารย์ก็ต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กนักเรียนในห้องเรียน เพราะพฤติกรรมและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเอง จะมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจของนักเรียน ครูจึงสามารถพัฒนาแรงจูงใจของนักเรียนได้โดยสนับสนุนให้นักเรียนกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจว่า ความสำเร็จนั้นเกิดจากความพยายาม ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนสามารถควบคุมได้ และในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้องพยายามเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิต กำหนดหรือมอบหมายงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียน เพื่อให้พวกเขาเกิดความมั่นใจ และใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจให้ได้มากที่สุด
     จะเห็นได้ว่า ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นไทยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะภาษาไทยไม่ใช่ไว้เพียงแค่การติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่ภาษาไทยของเราเป็นเอกลักษณ์ เป็นวัฒนธรรม ที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานาน ภาษาไทยจึงมีความสำคัญกับวัยรุ่นไทยที่จะเป็นอนาคตของชาติต่อไป รักษาภาษาไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างไว้ให้ และให้ภาษาไทยอยู่คู่กับชาติไทยไปตลอด

สาเหตุที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของภาษาของวัยรุ่นที่ใช้กันในปัจจุบัน

1.เมื่อการติดต่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นช่องทางใหม่ในการสื่อสาร ภาษาในยุคนี้จึงแปลก        เปลี่ยน เกิดภาษาใหม่ๆ บางคำมาจากแป้นพิมพ์ที่อยู่ติดกัน พิมพ์ง่ายกว่าจึงเกิดคำใหม่แทนคำเก่า
2.เพื่อลดความรุนแรงในการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ
3.คำศัพท์ใหม่ๆ ที่วัยรุ่นหรือคนบางกลุ่มนำมาใช้จนแพร่หลายนั้น ก็เพราะว่าคำไทยที่มีอยู่เดิมอาจจะไม่      สามารถสื่อถึงลักษณะและรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารได้มากพอ คนส่งสารก็เลยต้องพยาม    ยามคิดคำขึ้นมาใหม่ให้สามารถบอกรายละเอียดและความรู้สึกของตนเองให้ได้มากที่สุด
4.การเขียนคำไทยในอินเตอร์เน็ต หรือนิตยสารเพื่อความบันเทิง จะเขียนตามเสียงอ่านเพราะไม่ต้องการ    อยู่ในกรอบ หรือต้องการทำอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า
5.ทุกสิ่งในโลกล้วนเป็นอนิจจัง วัฏจักรของชีวิตมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ภาษาก็มีวัฏจักรชีวิตเช่นเดียวกัน
   ภาษามีเกิด คือ มีการสร้างคำใหม่ๆ ขึ้นมา
   ภาษามีแก่ คือ คำที่คิดว่าเก๋ เท่ ในยุคหนึ่ง ก็กลับกลายเป็นคำที่ล้าสมัยในปัจจุบัน
   ภาษามีเจ็บ คือ ความบกพร่องในการใช้ภาษา ต้องอาศัยการเยียวยารักษา
   ภาษามีตาย คือ คำบางคำไม่มีการนำกลับมาใช้อีก
   อย่างไร ก็ตามภาษาวิบัติยังเป็นคำพูดที่ไม่ได้รับความยินยอมให้ใช้ทั่วไปในระดับสากล หากแต่ใช้พูด      กันเองในกลุ่มเพื่อนฝูงหรือในกลุ่มวัยรุ่น โดยการใช้ภาษาเหล่านี้มักจะได้รับการต่อต้านจากผู้หลัก            ผู้ใหญ่ในสังคมอยู่เสมอ ณ วันนี้ หากฝืนปล่อยให้กลุ่มคนที่ชอบใช้ภาษาแบบผิดๆ ด้วยค่านิยมที่ผิดๆ        เพียงรู้สึกว่าการใช้ภาษาตามค่านิยมวัยรุ่นเหล่านั้นดูเป็นคำที่น่ารักและยังช่วยให้พิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ไม่    คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมา นั่นคือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม และที่น่ากลัวยิ่งคือวัยรุ่นบางกลุ่มได้    นำคำเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและได้แพร่หลายเข้าไปในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะนำพา    ความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทุกฝ่ายไม่ควรมองข้าม

ตัวอย่าง การใช้ภาษาโดยมีการเปลี่ยนแปลง

แปลงเสียงสั้นเสียงยาว
อะไร แปลงเป็น อาราย
ได้ แปลงเป็น ด้าย
ไม่ใช่ แปลงเป็น ม่ายช่าย
ไป แปลงเป็น ปาย
ใคร แปลงเป็น คราย
ทําไม แปลงเป็น ทามมาย
มาก แปลงเป็น มั่ก
ด้วย แปลงเป็น ดั่ว
สัตว์ แปลงเป็น สาด
กติกา แปลงเป็น กติกู

แปลงสระ
คิดถึง แปลงเป็น คิดถุง
กว่า แปลงเป็น กั่ว
ไม่ แปลงเป็น มะ
แล้ว แปลงเป็น แระ
เอา แปลงเป็น แอง
จะ แปลงเป็น จา,จิ
เพื่อน แปลงเป็น เพิ่ล
เปล่า แปลงเป็น ป่าว,ปะ
ไป แปลงเป็น ปาย
ทํา แปลงเป็น ทาม
ขอบคุณ แปลงเป็น ขอบคุง
เลย แปลงเป็น โรย

แปลงคำควบกล้ำ
จริงสิ แปลงเป็น จิงดิ
เปล่า แปลงเป็น ป่าว,ปะ
หรือเปล่า แปลงเป็น อ๊ะป่าว
จ้า แปลงเป็น จร้า
ค่า แปลงเป็น คร่า

ซ้ำตัวสะกด
ว้าย แปลงเป็น ว๊ายยยย
โอ๊ย แปลงเป็น โอ๊ยยยย
ครับ แปลงเป็น ค๊าบบบบ
รัก แปลงเป็น ร๊ากกก

ซ้ำสระ
เอ้า แปลงเป็น เอ้าาาา
จ้า แปลงเป็น จร้าาาา
ค่า แปลงเป็น คร่าาาาา

ขียนแตกต่างจากเดิม
ขอบใจ แปลงเป็น ขอบจัย
อย่างไร แปลงเป็น ยังงัย
ทําให้ แปลงเป็น ทำหั้ย
เธอ แปลงเป็น เทอ
จริง แปลงเป็น จิง

เขียนรูปแบบหรือสัญลักษณ์
เสียงหัวเราะฮ่าฮ่าฮ่า แปลงเป็น 555
ยิ้ม แปลงเป็น : )
ยิ้มขยิบตา แปลงเป็น ; )
ทําหน้าตาเบื่อโลก แปลงเป็น -_-

การแทรกเสียง
มึง แปลงเป็น มรึง
กู แปลงเป็น กรู
จ้า แปลงเป็น จร้า
ค่า แปลงเป็น คร่า
ค่ะ แปลงเป็น คระ
คิด แปลงเป็น คริด
สุดตีน แปลงเป็น สุดตรีน

การกลมกลืนเสียง
แม่มึง แปลงเป็น แม่ง
ดูซิ แปลงเป็น ดูดิ
กระโปรง+กางเกง แปลงเป็น กระเปรง
ค.วาย+แรด แปลงเป็น แคว๊ด
แฟน+ควาย แปลงเป็น แควน
โวยวาย แปลงเป็น วีน

การตัดเสียง
ซุปเปอร์สตาร์ แปลงเป็น ซุปตาร์
มหาวิทยาลัย แปลงเป็น มหาลัย
คอนเฟิร์ม แปลงเป็น เฟิร์ม
ไม่ไหวที่จะเคลียร์ แปลงเป็น ไม่ไหวจะเคลียร์
งอนตุ๊บป่อง แปลงเป็น งอนป่อง,งอนป่องๆ
อิทธิพล แปลงเป็น อิด
พารานอย(paranoid) แปลงเป็น นอย
โอเค แปลงเป็น โอ
สตรอเบอรี่ แปลงเป็น สะตอ
แนบเนียน แปลงเป็น เนียน
อิมพอสสิเบล แปลงเป็น อิม
เนิบนาบ แปลงเป็น เนิบ
ติ๊งต๊อง แปลงเป็น ติ๊ง
สวัสดี แปลงเป็น หวัดดี

การกร่อนเสียง
ใช่ไหม กร่อนเสียงเป็น ชิมิ
ตาวัน กร่อนเสียงเป็น ตะวัน
หมากกรูด กร่อนเสียงเป็น มะกรูด
หมากนาว กร่อนเสียงเป็น มะนาว
แฟน กร่อนเสียงเป็น ฟุ๊บุ
กระล่อน กร่อนเสียงเป็น หลี
ขี้เหร่ กร่อนเสียงเป็น เหียก
ช่างทำได้นะ กร่อนเสียงเป็น กล้านะ
เสียว กร่อนเสียงเป็น เซี้ยว
อร่อย กร่อนเสียงเป็น เอ็ดย่า
กับ กร่อนเสียงเป็น กะ
แจ๋ว(คนใช้) กร่อนเสียงเป็น แจ๋ง
ปอด กร่อนเสียงเป็น ป๊อด

ความหมายต่างไปจากเดิม
ปวดตับ หมายถึง เครียด
กลิ่นตุๆ หมายถึง เค้าลางของการทุจริต
เกาเหลา หมายถึง ไม่ถูกกัน,ไม่กินเส้น
ตู้ หมายถึง เด็กเรียน
สิว-สิว หมายถึง เรื่องขี้ผง เรื่องเล็กๆ ง่ายมาก
ซึม หมายถึง พวกชอบทำไม่รู้ไม่ชี้ แต่ที่แท้ตัวดี
ป๊อด หมายถึง ไม่กล้า
กิ๊บ หมายถึง เจ๋งมากๆ
เบๆ หมายถึง ง่ายๆ หมูๆ
ออนป้า หมายถึง ทำตัวแก่ประมาณคุณป้า
เนิร์ด(Nerd) หมายถึง เด็กเรียน
งานเข้า หมายถึง ได้เรื่องหรือมีเรื่องเดือดร้อนเข้ามา
ยาวไป หมายถึง เที่ยวกลางคืนจนถึงดึกดื่นถึงเช้า
เนียน หมายถึง ทำได้กลมกลืน ทำเนียบเนียนดีมาก
วีนแตก หมายถึง ชอบอาละวาด ชอบโวยวาย
เฟิร์มนะ หมายถึง ตกลงแน่นอนตามนั้นใช่ไหม่
โดนใจ หมายถึง ประทับใจ

และยังมีคำอีกมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่น จนแทบจะกลายเป็นภาษาทางการของกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและนับวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากทุกภาคส่วนในสังคมยังคงปล่อยวางไม่เร่งรีบหาทางแก้ไข และยังคงมีการใช้บ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดความเคยชิน อีกทั้งมีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนในที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าหวั่นเกรงยิ่งนักว่าในอนาคตปัญหาวิกฤติภาษาไทยก็จะยิ่งยากเกินการเยียวยาแก้ไข

ปัญหาที่พบเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

         ในปัจจุบันปัญหาที่พบเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
       คือการใช้ภาษาในทางวิบัติ และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ภาษาอยู่หลายประเภท เช่น
1. รูปแบบการพูด เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้เวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่     น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยการพูดมักจะพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบ     กล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง
2. รูปแบบการเขียน รูปแบบของภาษาวิบัติประเภทนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่นำมาใช้ผิดหลัก       ของภาษา คนที่ใช้ภาษาวิบัติเวลาเขียนนั้นจะเขียนตามเสียงอ่าน เพราะไม่ต้องการอยู่ในกรอบหรือ         ต้องการทำอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า ได้แก่
  2.1 การเขียนตามเสียงพูด
  2.2 การสร้างรูปการเขียนใหม่
3.รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงเสียงอ่าน
4.กลุ่มที่เปลี่ยนแปลงความหมาย